top of page

ความเป็นมาของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

11111.jpg
pic04.jpg

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรงเริ่มงานพัฒนาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา โดยมีพระราชดำริให้ดำเนินการรวบรวมรักษาพรรณพืชต่างๆ ที่หายากและกำลังจะหมดไป

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงสานพระราชปณิธานต่อ โดยพระราชทานให้โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นต้นมา การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ในระยะที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน มีหน่วยงานต่างๆ ร่วมสนองพระราชดำริเป็นจำนวนมาก โดยพื้นที่และกิจกรรมของโครงการได้ขยายและกระจายออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งมีแนวทางการดำเนินงานที่หลากหลายมากขึ้นโดยลำดับ และได้บรรลุผลก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยประจักษ์ชัดแล้ว

พระสัญลักษณ์ประจำพระองค์ 

unnamed.png

พระสัญลักษณ์ประจำพระองค์ : พระนามาภิไธยย่อ  สธ
ภายใต้มงกุฎขัตินารีไม่มีพระจอน  รองรับด้วยดอกชมพูภูคา

ดอกชมพูภูคา  คือ  ต้นไม้พันธุ์หายากที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลก  โดยต้นชมพูภูคาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ในป่าดิบภูเขาระดับสูง  ต้นสูงประมาณ ๓๐ เมตร เปลือกเรียบสีเทา ใบประกอบด้วยใบย่อย ๔-๙คู่  ปลายใบแหลมยาวเรียงสลับกันเป็นใบประกอบเป็นขนนกชั้นเดียว  ดอกมีสีชมพูจะออกเป็นช่อตามปลายกิ่งโดยจะออกประมาณเดือนกุมภาพันธ์  สืบพันธุ์โดยใช้เมล็ด  (ชื่อวิทยาศาสตร์  Bretschneidera Sinensis Hemsl.     ชื่อวงศ์  Bretschnederaceae)

bottom of page